โปรแกรมแต่งเพลง โปรแกรมบันทึกเสียง ที่มีคุณภาพนั้นมีอยู่ หลายตัวด้วยกัน ซึ่งแต่ละตัวก็จะมีความแตกต่างกันเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น ที่ต่างกันก็เพียงแค่หน้าตาโปรแกรมที่ออกแบบมาไม่เหมือนกัน ซึ่งแล้วแต่ผู้ผลิตจะดีไซต์ออกมา เจ้า studio one ตัวนี้ การออกแบบ ทางผู้ผลิตทำออกมาค่อนข้างสวยงาม หน้าใช้ ตัวนี้ผมรู้จักก่อน reaper 4 ซะอีกนะครับ แต่ พบรักกันตอนใช้ Cubase เป็นแล้ว เรามาดูกันว่าจะสวยขนาดไหน
จากรูปด้านบน หน้าต่างแรกเมื่อเราเปิดโปรแกรม studio one ขึ้นมาก็จะเจอแบบนี้ ในช่องสี่เหลี่ยมที่ 1 Create a new song คือคำสั่งเริ่มสร้างโปรเจ็คงานใหม่ ช่องสี่เหลี่ยมที่ 2 Create a new project คือคำสั่งเริ่มโปรเจ็คสำหรับ ทำ Mastering ช่องสี่เหลี่ยมที่ 3 คือหน้าต่างสำหรับกรอกรายละเอียด โปรเจ้ค หรือ งานเพลง เช่นชื่อศิลปิน ชื่อเพลง ชื่อวง และรูป Album Art
จากรูปด้านบน เมื่อเรากดปุ่ม Create a new song จะเจอกับหน้าต่างนี้ครับ ด้านซ้ายมือ คือ Preset แบบต่างๆที่โปรแกรมมีมาให้ ด้านขวามือ คือการตั้งชื่อเพลง ค่า Sample rate ค่า Resolution ค่า tempo เมื่อตั้งค่าเสร็จ ให้กด ปุ่ม OK แล้วไปต่อ...
นี่คือหน้าต่างเริ่มต้นการทำงาน ของ Presonus Studio One สวยงามมากๆเลยทีเดียว
ทีนี้ เมนู หรือคำสั่งต่างๆใน แถบเมนูหลัก เริ่มจาก File เมนุ File ก้จะมีคำสั่งพื้นๆ ดังที่เห็นในรูปด้านบน เชื่อว่าทุกๆท่านคงจะทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก
เมนู Edit ก็ไม่ค่อยมีอะไรมาก ก็พื้นๆเหมือนกัน หลายๆท่านที่เคยใช้งาน โปรแกรบันทึกเสียง ตัวอื่นๆ มา คงพอจะมองออก
เมนู Track เป้นเมนูคำสั่งต่างๆเกี่ยวกับ track ทั้งหมด เช่น Add track Audio ,Add Instrument Track
Event เป็นชุดคำสั่งที่ใช้กับ ท่อน wave ท่อน Midi
Audio ตรงนี้ก็เป็นคำสั่งเกี่ยวกับไฟล์ Audio ทั้งหมด
Transport เป็นชุดคำสั่งเดียวกันกับ ปุ่มใน Transport bar
Studio One เป็นเมนูการตั้งค่า การใช้งานของโปรแกรม
จากรูปด้านบนนะครับ การ Add Track ให้กดปุ่มเครื่องหมาย + หรือคลิกขวาในพื้นที่ กรอปสี่เหลี่ยม 1 ก็จะมีหน้าต่าง Add Track ขึ้นมาดังรูป
ปุ่มต่างๆในแถบ หน้าต่างการทำงาน เริ่มจากปุ่มแรกครับ ตามรูปด้านบน ในช่องสี่เหลี่ยมสีแดงเล็ก เมื่อเราคลิกตรงนี้ ก็จะมีหน้าต่างบอกสถานะของ Track ขึ้นมาดังในกรอปสี่เหลี่ยมสีเหลือง
จากรูปด้านบน ปุ่มต่อมา ก็จะเป็นปุ่มบอกรายละเอียดของ Track ที่เราเลือก
จากรูปด้านบน ปุ่มต่อมา ก็จะเป็นปุ่มบอกรายละเอียดของ Auto mation ต่างๆของ track
จากรูปด้านบน ปุ่มต่อมา ก็จะเป็นปุ่ม เปิดปิด Track Tempo
จากรูปด้านบน ปุ่มต่อมา ก็จะเป็นปุ่มเปิดปิด Marker Track
จากรูปด้านบน ในกรอบสีแดง จะเป็นชุดคำสั่ง ที่ใช้ในการ Edit Event เช่น ตัด ต่อ ลบ ในกรอปสีเหลือง ตัว Q จะเป็นการ Fix Event หรือท่อน wave กับ Quantize ในกรอบสีฟ้า เป็นการตั้งค่า อัตตราส่วนของ Quantize เช่น 1/8,1/16,1/32,1/64 และลักษณะของเส้น Quantize ว่าเลือกแบบไหน เช่น Bar,Beat ในกรอบสีชมพูทั้งสองอัน ชุดคำสั่งนี้จะสัมพันกันกับ กรอบสีฟ้า คือเลือกค่า Quantize แบบไหน เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว ตัวดำ หรือ แบบ สามพยางค์ และจังหวะ ตก กับ ยก ในกรอปสีเขียวคือการเลือกจังหวะ เช่น Straight เป็นจังหวะตก Triplet เป็นลูก พยางค์ แบบ 3 หรือ 6 พยางค์ ขึ้นอยู่กับเส้น Quantize ว่า 1/8 1/32 หรือ 1/16 1/64 และ Quintole คือ จังหวะยก
จากรูปด้านบน ปุ่มในกรอบสี่เหลี่ยนเล็ก ด้านล่างขวา (Mix) คือปุ่มเปิด ปิด Mixer ของโปรแกรม Studio One
สุดท้ายของ Part นี้ ปุ่ม Edit เมื่อเราต้องการ Edit ไฟล์ wave หรือ Midi track ให้เราคลิกที่ Event ที่เราต้องการ จะแก้ไข แล้วกดปุ่ม Edit ก็จะได้ หน้าต่างดังรูป สามมารถเขียน Midi กลอง เบส กีตาร์ ได้ ในหน้าต่างนี้ จบครับ เจอกัน Part 2 เดี๋ยว่างๆ จะมาอัพเดท ครับ
ผมใช้ presonus rm32ai ครับ ปรับ EQ,Gate,com,Fx เข้าไปใน แล้วทำการบันทึก แต่พอ Export mixdown ออกมาแล้วมีแต่เสียงต้นฉบับ เสียงEQ,Gate,com,Fx หายหมดเลยครับ ต้องทำไง รบกวนท่านผู้รู้ด้วย ขอบคุณมากๆครับ
ReplyDeleteขอบคุณคับ ผมพึ่งโหลดมา เดียวขอศึกษา ภาษาไทยด้วยคนนะคับ
ReplyDelete